ความสำคัญของค่า pH สำหรับพืชไฮโดรโปนิกส์
ค่า pH คือ ค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย การปลูกพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์ที่มีการให้ธาตุ อาหารผ่านทางสารละลาย และเป็นการปลูกพืชที่ระบบรากจะสัมผัสกับนํ้าอยู่ตลอดเวลา
เมื่อรากพืชมี การดูดใช้ธาตุอาหารไป จะมีการปลดปล่อยไฮโดรเจนไอออน (H+) และไฮดรอกซิลไอออน (OH-) ออกมาสู่ สารละลายจึงส่งผลให้สารละลายมี pH ที่เปลี่ยนแปลง จึงมีความจําเป็นต้องควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่าง ของสารละลาย
ระดับความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย
• ค่า pH เท่ากับ 7 หมายถึง สารละลายเป็นกลาง
• ค่า pH ตํ่ากว่า 7 หมายถึง สารละลายเป็นกรด
• ค่า pH สูงกว่า 7 หมายถึง สารละลายเป็นด่าง
ค่า pH ที่เหมาะสมสําหรับการปลูกพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์อยู่ในช่วง 5.5-6.5 ธาตุอาหารพืชแต่ ละธาตุที่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารนั้น รากของพืชจะดูดใช้ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่า pH ที่แตกต่าง กัน
ค่า pH ของสารละลายที่ตํ่า หรือมีความเป็นกรดมากเกินไป จะส่งผลให้พืชดูดธาตุฟอสฟอรัส (P) โพแทส เซียม (K) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ได้น้อยลง นอกจากนี้ความเป็นกรดที่มากเกินไปจะส่งผลให้ รากพืชถูกกรดกัดกร่อน รากพืชอ่อนแอ และเชื้อโรคเข้าทําลายได้ง่าย
ค่า pH ของสารละลายที่สูง หรือมีความเป็นด่างมากเกินไป จะส่งผลให้พืชดูดธาตุเหล็ก (Fe) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) และแมงกานีส (Mn) ได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้พืชมีอาการแคระแกรน ใบเหลือง
เครื่องที่ใช้ตรวจสอบค่า pH มีดังนี้
1. นํ้ายาตรวจสอบค่า pH (pH Test Kit) เมื่อหยดนํ้ายาลงในตัวอย่างนํ้าจะทําให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทําให้นํ้าเปลี่ยนสี และนําไปเทียบกับแถบวัดสีเพื่อเทียบระดับค่า pH
2. เครื่องวัด pH (pH Meter) เป็นเครื่องมือที่มีเซ็นเซอร์วัดค่าความเป็นกรด-ด่าง และแสดงผลออกมา เป็นตัวเลขที่หน้าจอ
สารเคมีที่นิยมใช้ในการลดค่า pH ได้แก่ กรดไนตริก (HNO3) ไม่ควรใช้กรดไนตริกเข้มข้นโดยตรง เนื่องจากมีอันตราย ควรใช้งานอย่างระมัดระวัง ก่อนนํากรดไนตริกมาใช้งาน ควรเจือจางในนํ้าที่อัตราส่วน 1:10 หรือ 1:20 (ห้าม!! เทนํ้าลงในกรดโดยตรง แนะนําให้เทกรดลงในนํ้า) เติมกรดไนตริกที่เจือจางแล้ว ลงในสารละลายที่ต้องการปรับ pH ทีละนิด จนถึงจุดที่ pH มีความเหมาะสมตามต้องการ