การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์Hydroponics
การปลูกพืชในระบบน้ำ (Hydroponics) การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ เป็นระบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มักจะพบบ่อยๆในการปลูกไฮโดรโปนิกส์ เหมาะสมกับการเริ่มต้นปลูกสำหรับมือใหม่หัดปลูก จะเป็นการปลูกพืชโดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายธาตุอาหารตลอดเวลามี 3 ระบบที่เป็นที่นิยมคือ
การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์
ระบบ NFT (Nutrient Film Technique) หรือระบบน้ำตื้น
เป็นการปลูกพืชโดยให้รากสัมผัสกับธาตุอาหารที่ไหลเป็นฟิล์มบางๆ หนา 1-3 มิลลิเมตรและสารละลายธาตุอาหารจะมีการไหลหมุนเวียนกลับมาใช้ในระบบอีกครั้ง ระบบนี้จะเหมาะกับมือใหม่หัดปลูก เหมาะสำหรับการปลูกผัก พืชอายุสั้น
จุดเด่น ของ NFT | จุดเด่น ของ NFT |
– รากพืชได้รับออซิเจนอย่างเพียงพอ – เหมาะกับพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวเร็ว |
– หากไฟฟ้าขัดข้องพืชไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ – ต้องการความสม่ำเสมอของธาตุอาหารตลอดเวลา |
ระบบ DFT (Deep Flow Technique) หรือระบบน้ำลก
การปลูกโดยให้รากพืชแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่มีความลึก 15-20 ซม.ในระบบน้ำนิ่ง สามารถเติมอากาศในระบบได้โดยใช้ปั๊มออกซิเจนในระบบนี้สามารถปลูกได้ทั้งในภาชนะที่หลากหลาย ทั้ง กะละมัง กล่องโฟม ลังพลาสติก หรือรางปลูก เหมาะกับการปลูกพืชหลากหลายชนิด
จุดเด่น ของ DFT | จุดด้อย ของ DFT |
– สามารถใช้อุปกรณ์ที่หาง่ายมาดัดแปลงใช้ในระบบได้ – หากไฟฟ้าขัดข้องพืชยังคงสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ |
– รากพืชอาจเกิดการขาดออกซิเจนได้ เนื่องจากรากมีการแช่อยู่ในสารละลายที่ไม่มีการหมุนเวียน ควรต้องมีการเติมอากาศให้กับรากพืช – ต้องใช้น้ำและปุ๋ยในปริมาณมาก |
ระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) หรือระบบน้ำกึ่งลึก
เป็นระบบที่จะมีการไหลเวียนสารละลายธาตุอาหารผ่านรากพืชเหมือนกับระบบ NFT แต่ระดับน้ำที่ไหลจะมีความลึกคล้ายๆระบบ DFT สามารถปรับระดับน้ำเพื่อเพิ่มอากาศให้เหมาะสมต่อการเจริญของพืชได้ เหมาะสำหรับการปลูกผัก โดยเพาะผักไทย
จุดเด่น ของ DRFT | จุดด้อย ของ DRFT |
– รากพืชได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ – พืชได้รับธาตุอาหารสม่ำเสมอ – ไฟฟ้าขัดข้องพืชจะยังสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ |
– ผู้ปลูกจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการปรับระดับน้ำ ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช |
รางปลูก รางปลูกที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันส่วนมากจะทำจากพลาสติก มีหลายขนาดควรเลือกตามความเหมาะสมของพืชที่จะปลูก 10-15 เซนติเมตร ท ส่วนพืชขนาดใหญ่ เช่น มะเขือเทศ แตงกวา และเมล่อน ใช้รางขนาดความกว้าง 25-30 เซนติเมตร
ถังรองรับสารละลาย จะเป็นถัง ไฟเบอร์แกลสหรือถังสแตนเลสสำหรับเก็บน้ำได้ โดยขนาดของถังจะต้องพอสำหรับรองรับน้ำภายในระบบทั้งหมดได้ ในกรณีไฟดับ หากถังไม่สามารถรับน้ำทั้งหมดได้ จะทำให้เกิดการล้นของสารละลายธาตุอาหาร ถังใส่สารละลายปุ๋ยABเข้มข้น จะต้องแยกเป็น2ถัง คือถังA และถังB เพื่อป้องกันการตกตะกอนควรเป็นถังที่มีความทึบ มีฝาปิด และควรเก็บให้พ้นแสงแดด
ปั๊มหมุนเวียนสารละลาย และ ปั๊มเติมอากาศ
ปั๊มหมุนเวียนสารละลายจะมีหน้าที่สูบน้ำจากถังรองรับสารละลายไปยังรางปลูก ใช้ในระบบที่มีการหมุนเวียนสารละลายธาตุอาหาร ส่วนปั๊มอากาศใช้สำหรับการเติมอากาศในระบบที่ไม่มีการหมุนเวียนสารละลายธาตุอาหาร
เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า (EC) และเครื่องวัดความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเนื่องจากจะเป็นการวัดความเหมาะสมของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยค่าEC จะบอกถึงปริมาณปุ๋ยในระบบ ค่าpH จะบ่งบอกถึงความเป็นกรดด่างของสารละลายที่มีผลต่อคุณสมบัติของปุ๋ย
ขั้นตอนการปลูก
การเพาะกล้า | การดูแลพืช |
|
|
ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำและสารละลายธาตุอาหารทุกๆ 2 สัปดาห์